Last updated: 2018-01-31 |
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานประเภทหนึ่ง พบได้ในกลุ่มคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และมีความเสี่ยง เช่น อ้วน อายุมากกว่า 35 ปี เคยมีประวัติการป่วยโรคเบาหวาน หรือมีประวัติการคลอดลูกน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม มักเกิดในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 24 สัปดาห์
การทดสอบคัดกรองเบาหวานในคุณแม่ตั้งครรภ์ จะเริ่มตรวจเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก โดยคุณหมอจะให้คุณแม่ตั้งครรภ์ดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ก่อนวัดระดับน้ำตาลในเลือด 1 ชั่วโมง หากพบว่าระดับน้ำตาล 140 มก./ดล. หรือมากกว่า คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และทำการทดสอบอีกครั้งโดยการให้ดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม 1 ชั่วโมงก่อนทำการวัดระดับน้ำตาลอีกครั้ง หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 185 มก./ดล. คุณแม่เป็นกลุ่มเสี่ยงของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภแบ่งของเป็น 2 ลักษณะ
1. เบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีความรุนแรง ทำให้เกิดภาวะการแท้งได้ง่าย และมีผลต่อการสร้างอวัยวะของทารกในครรภ์
2. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในช่วงครรภ์ตั้งแต่ 24 - 28 สัปดาห์ ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ ความดันโรคหิตสูง ทารกตัวโต คลอดยาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเหลืองหลังคลอด
เบาหวานขณะตั้งครระภ์ส่งผลอย่างไร
คุณแม่
- มีโอกาศเป็นโรคเบาหวานหลังคลอด
- ความดันโลหิตสูง
- เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ
- เสื่อมของระบบหลอดเลือด ตา ไต และปลายประสาท
- มีโอกาศตกเลือดหลังคลอด
ทารกในครรภ์
- ลูกน้อยหลังคลอดมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง
- ส่งผลต่อสุขภาพของลูกหลังคลอด
- ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ ในช่วงระยะที่ทารกในครรภ์กำลังสร้างอวัยวะ
- เกิดภาวะเหลืองหลังคลอด
การดูแล ป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ควรควบคุมระดับน้ำตาล โดยการลดอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาล หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด และควรได้รับคำปรึกษาจากนักโภชนาการ ออกกำลังกายเบาๆ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
Sep 16, 2018
Oct 19, 2018
Oct 13, 2018
Oct 15, 2018